22 September, 2020

ปั้นจั่นหรือเครน

ปั้นจั่นหรือเครน   
หมายถึงเครื่องจักรที่ยกสิ่งของขึ้น-ลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ และให้หมายรวมถึงเครื่องจักรประเภทรอกที่ใช้    ยกสิ่งของขึ้น-ลงตามแนวดิ่ง ด้วย
ประเภทของปั้นจั่น
แบ่งตามกฎกระทรวง    พ.ศ.2552
1.ปั้นจั่นเหนือศรีษะและปั้นจั่นขาสูง
2.ปั้นจั่นหอสูง
3.รถและเรือปั้นจั่น
แบ่งตามประกาศกรมฯ    พ.ศ.2554
1.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
2.ปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่นๆ
แบ่งตามการเคลื่อนที่
1.ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่
2.ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่

การดูโหลดชาร์ตของเครน

การใช้งานเครนนั้นเราจะสามารถพบสัญลักษณ์ต่างๆรวมถึงการอ่านค่าต่างๆของเครนซึ่งส่งผลต่อการใช้งานบุคคลที่ไม่ทราบอาจทำให้เกิดอันตรายในการใช้งานได้ ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักสัญลักษณ์และการอ่านค่าในส่วนของเครนและการใช้งานของเครนกัน
1. ผู้ผลิต
จะกำหนดว่าตารางน้ำหนักนั้นใช้งานกับรถเครนยี่ห้อใดที่พบใช้งานมากในประเทศไทยจะเป็นยี่ห้อ TADANO, KATO, LIEBHERR, KOBELCO, GROVE และ SANY เป็นต้น
2. รุ่นผลิต
จะทำให้ทราบประเภทของรถเครน และขนาดความสามารถในการยกน้ำหนักของรถเครน เช่น TR250M-6 ใช้กับรถเครนยี่ห้อ TADANOประเภท Rough Terrain Crane ขนาดยกได้ 25 คัน Domestic Model 6
3. หน่วยน้ำหนัก
จะแสดงถึงหน่วยวัดน้ำหนัก เช่น Unit: ton (หน่วยวัดที่อ่านได้มีเป็นหน่วยน้ำหนัก ตัน)
4. ความกว้างของขาเครนที่ใช้ (With Outriggers Set)
จะแสดงให้ทราบว่าตารางน้ำหนักในตารางจะยกภายใต้เงื่อนไขของการใช้ความกว้างของขาเครนเท่าใด เช่น

– Outriggers fully extended (7.3 m.) = ยืดขาเต็ม 7.3 เมตร
– Outriggers middle extended (5.5 m.) = ยืดขาเต็ม 5.5 เมตร
– Outriggers minimum extended (2.54 m.) = ยืดขาเต็ม 2.54 เมตร
5. ตำแหน่งของการยก (Slewing Position)
จะแสดงว่าค่าในตารางน้ำหนักสามารถใช้ได้สำหรับตำแหน่งการยกรอบจุดศูนย์กลางการหมุน (Center of rotation) มักปรากฏมุมขวาบนของตาราง เช่น

360 องศา = ยกได้ทุกตำแหน่งรอบแกนสวิง
Over Front = ยกได้เฉพาะด้านหน้า
Over Rear = ยกได้เฉพาะด้านหลัง
Over Side = ยกได้เฉพาะด้านข้าง
6. ความยาวบูม (Boom Length)
จะแสดงช่วงความยาวของบูมที่ใช้ยกโดยส่วนใหญ่มักจะอยู่ด้านบนของตารางและอ่านตามแนวนอนแต่ละช่องจะหมายถึงความยาวบูมที่ใช้ เช่น

A = บูมยาว 10.65 m. 18.02 m. 25.35 m. 32.67 m. และ 40.0 m.
7. องศาบูม (Boom Angles)
จะแสดงความลาดชันของบูมหลัก (Main Boom) โดยวัดค่าจากแนวระนาบ (The horizontal) และเส้นกลางของบูมหลัก (Boom centerline) มักปรากฏด้านล่างของตารางสำหรับบูมหลัก และด้านหน้าสำหรับตารางการใช้จิ๊ป
8. ความยาวจิ๊บ (Jib Length)
จะแสดงช่วงความยาวของการใช้จิ๊ป โดยส่วนใหญ่จะอยู่ด้านบนของตารางการใช้จิ๊ป และอ่านตามแนวนอนแต่ละช่องจะหมายถึงความยาวของการใช้จิ๊ป เช่น

C = ใช้ความยาวบูมหลัก 30.5 m. ต่อจิ๊ปยาว 80 m. และจิ๊ปยาว 13.0 m.
D = ใช้องศาจิ๊ปที่ 50°, 25°, 45°
9. ช่วงองศาจิ๊ป (Jib offset angles)
จะแสดงความลาดชันของจิ๊ปโดยวัดจากแนวศูนย์กลางของบูมหลัก (Main Boom center line) กับแนวจุดศูนย์ กลางของจิ๊ปที่ต่อ (Jib extended center line) มักปรากฏด้านบนของตารางใช้จิ๊ปถัดจากช่วงความยาวจิ๊ป
10. ระยะห่างของการยก (Working radius)
ระยะห่างศูนย์ถ่วงน้ำหนัก (Load Radius) จะแสดงระยะยกโดยวัดจากจุดศูนย์กลางของการหมุน (Center of rotation) หรือจุดศูนย์กลางสวิงของรถเครนไปถึงจุดศูนย์ถ่วงน้ำหนักของชิ้นงานที่จะยก (Center of Gravity) มักปรากฏอยู่ด้านซ้ายหรือด้านขวาของตาราง เช่น

B = 2.5 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 2.5 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
B = 3.0 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 3.0 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
B = 3.5 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 3.5 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
B = 4.0 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 4.0 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
B = 4.5 m. หมายถึง ที่ระยะห่าง 4.5 m. บูม 9.5 m. ยกได้ 25.0 ตัน
11. ระยะพื้น (Ground) กับใต้ตะขอรอก (Under hook)
ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ความยาวบูม หรือจิ๊ปที่ระยะห่างของการยกระยะต่างๆ
12. น้ำหนักถ่วงที่ใช้ประกอบ (Counter balance weight)
สำหรับรถเครนขนาดใหญ่ในการทำงานจะต้องมีการใช้น้ำหนักถ่วงเพื่อประกอบการยกจะแสดงไว้เหนือตาราง เช่น
– ใช้เคาท์เตอร์เวท 72 ตัน

– ใช้เคาเตอร์เวท 138 ตัน เป็นต้น

13. จำนวนการใช้ลวดสลิง
จะแสดงความสัมพันธ์ของจำนวนการทดสลิงเพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักที่ยกความยาวบูมและขนาดของรอกที่ใช้จะปรากฏอยู่ใต้ตารางน้ำหนักและจำนวนสลิงที่ใช้งานจะถูกนำไปคำนวณหาน้ำหนักสลิงเพื่อหาค่าน้ำหนักยกรวมต่อไป
14. ขนาดรอกยก (Hook Block type)
จะแสดงความสัมพันธ์ของขนาดรอกที่เลือกใช้เพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักที่ยกจำนวนการทดสลิงและน้ำหนักรอกนั้น (Hook weight) จะถูกนำไปคำนวณหาค่าน้ำหนักยกรวมต่อไป
15. อุปกรณ์พิเศษ เช่น
– ใช้จิ๊ป
– ใช้ราฟฟิงจิ๊ป
– ใช้ Y-guy system
16. ตัวอย่างการอ่านตารางน้ำหนัก
รถเครน Tadano รุ่น TR250M-5

ตัวอย่างที่ 1
ยืดขาเต็ม 6.3 เมตร ใช้บูมยาว 23.5 เมตร ระยะห่าง 8.0 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ 9.0 ตัน
ตัวอย่างที่ 2
ยืดขาเต็ม 6.3 เมตร ต่อจิ๊ปยาว 13.0 เมตร จิ๊ปนอน 25 องศา บูม หลักนอน 60 องศา สามารถรับน้ำหนักได้ 0.9 ตัน
ตัวอย่าง 3
ยืดขาเต็ม 6.3 เมตร ใช้บูมยาว 3.5 เมตร บูมหลักนอน 60 องศา ได้ระยะห่าง 15 เมตร ที่ระยะความสูง 25 เมตร สามารถรับน้ำหนักได้ 3.8 ตัน
17. ตัวอย่างการเลือกขนาดของรถเครน (Crane Selection) ควรมีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 หาตำแหน่งชิ้นงานที่จะทำยก โดยต้องทราบระยะความสูง (Lifting Height) ที่จะยก
ขั้นตอนที่ 2 หาตำแหน่งที่ตั้งรถเครนที่เหมาะสมแก่การทำงานหรือทราบระยะห่าง(Working Radius) ที่จะยกเนื่องจากต้องพิจารณาปัจจัยอื่น หรือข้อจำกัดในการทำงาน เช่น แผนการยกวิธีการยึดจับแนวอาคาร แนวท่อระบายน้ำ แนวเสาไฟฟ้า และอุปสรรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบหาน้ำหนักรวม หรือภาระที่จะเกิดขึ้น (Total Loads) ประกอบด้วย

น้ำหนักชิ้นงาน (weight)
น้ำหนักรอก (Hook block weight)
น้ำหนักอุปกรณ์ยก (Equipment weight)
น้ำหนักลวดสลิง (wire rope weight) คำนวณจากความสูง x น้ำหนักสลิงต่อเมตร x จำนวนการรอบทดสลิง
ขั้นตอนที่ 4 หาขนาดรถเครน (Crane Selection) เมื่อได้น้ำหนักรวม ระยะห่าง และความสูงให้นำค่าที่ได้ไปเทียบกับตารางน้ำหนักรถเครนและกราฟแสดงความสูง จะได้ขนาดรถเครนใช้งาน หากงานประเภทใดที่ต้องเพิ่มค่าปลอดภัยในการทำงาน (%SLLหรือ Safety Loads Limit) ต้องนำค่าน้ำหนักนั้นไปเป็นค่าเทียบในตารางน้ำหนัก พร้อมกับพิจารณาปัจจัย ข้อจำกัด หรืออุปสรรคในการทำงานด้วยตัวอย่างตามเงื่อนไขการยก ดังนี้

เงื่อนไขการยกขนาดรถเครน
น้ำหนัก (ตัน)ระยะห่าง (เมตร)ความสูง (เมตร)ขนาด (ตัน)ตารางรุ่นผลิตที่อ้างอิงใช้บูม (เมตร)ต่อจิ๊ป (เมตร)ยกน้ำหนักได้ (ตัน)
320250TR500M-241.23.6
32040100TG100M-144.0 (70°)15.0 (5°)3.7
34020130ATF130G-543.05.9
34040200LTM1200-5.167.36.1
3202080TG800M-136.06.9

การคำนวณ Load เพื่อเลือกเครนในการยก

  สำหรับการคำนวณ Load สำหรับการ ยกวัตถุใดๆ ด้วยรถเครน มีความสำคัญมาก ทั้งด้วยเรื่องของความปลอดภัย และราคาในการว่าจ้างรถเครนนั้น แต่ละ ระดับค่อนข้างต่างกันมาก ซึ่งวิธีคำนวณคร่าวๆ นั้น จึงเป็นประโยชน์อย่างมากในการเลือกเช่ารถเครน

Load Chart หรือ ตารางแสดงความสามารถในการ ยกเครน เราสามารถหาได้ทั่วไปซึ่ง ความสามารถ ในแต่ละยี่ห้อจะไม่ค่อยแตกต่างกันมาก >>แนะนำที่นี่<<
วิธีดูไม่ยากครับแนวแกนตั้งและแนวแกนนอน คือเงื่อนไข ที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการยก Load ของเครน
แนวแกนนอน = ระยะห่างระหว่าง Load กับดัวรถ ต้องดูจากสิ่งกีดขวางหรือสภาพหน้างาน ตำแหน่งการวาง Load และ รถเครน
แนวแกนตั้ง = ความสูงของแขนเครน (Boom) อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการยกชิ้นงานสูงแค่ไหน

พอเราหาได้แล้ว เราจะได้ Max Load หรือความสามารถสูงสุดที่เครนจะยกได้

ทีนี้เรามาดู Total Weight หรือ น้ำหนักรวม = น้ำหนักของ Load + น้ำหนัก อุปกรณ์ช่วยยก และอื่นๆ

Lifting capacity rate คือ อัตราส่วนความสามารถในการยกชิ้นงาน ต้องไม่เกิน 75%

Lifting capacity rate = Total Weight / Max Load หน่วยเป็น %

ยกตัวอย่าง

Total Weight = 28 Tons
Max Load = 45 Tons

Lifting capacity rate จะเท่ากับ 28/45 = 62% สามารถยกชิ้นงานชิ้นนี้ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น